มทร.สุวรรณภูมิ ยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนต้นแบบจากทุนทรัพยากรท้องถิ่น ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและพัฒนาคุณภาพชีวิต

เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2568 ณ หอประชุมพระพิรุณระลึกโปรดเกล้าฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา ศาสตราจารย์พิเศษชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ เป็นประธานเปิดโครงการวิจัย“การยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนต้นแบบจากทุนทรัพยากรท้องถิ่น ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและพัฒนาคุณภาพชีวิต”โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วารุณี ศรีสงคราม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และผู้อำนวยการแผนงานวิจัยเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เป็นผู้กล่าวรายงาน

ดร.วารุณี กล่าวว่า ผลการดำเนินงานของโครงการวิจัยทั้ง 2 เครือข่าย ได้แก่การยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยว โดยชุมชนบนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่น ด้วยการบูรณาการความร่วมมือภาคีเครือข่ายกลุ่มมหาวิทยาลัยพัฒนาเชิงพื้นที่ของ มหาวิทยาลัยราชภัฎ และ การยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนต้นแบบจากทุนทรัพยากร ท้องถิ่นด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและพัฒนาคุณภาพชีวิตของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.)

การดำเนินงานวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ครั้งนี้เป็นการทำงานแบบบูรณาการอย่างมีส่วนร่วมระหว่างเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ 7 พื้นที่และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 2 พื้นที่ภายใต้ความคาดหวังในการบริหารจัดการและ ยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนของพื้นที่ที่เป็นทุนวิจัยของมหาวิทยาลัยเป็นหลัก ผลผลิต จากงานวิจัย เกิดผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีมาตรฐาน โปรแกรมการท่องเที่ยวที่ผ่านการทดสอบ   นำเข้าสู่ดิจิทัลแพลตฟอร์ม และเกิดการส่งเสริมการจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อสังคมหรือ CBT-SE ที่ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการในการจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อสังคม รวมทั้งนวัตกรรม และเทคโนโลยีที่สนับสนุนการท่องเที่ยว โมเดลการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนและต้นแบบ การท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงวัฒนธรรม มีการพัฒนาแพลตฟอร์ม RCBT-SIP สู่ R-CBT  MLLL เชื่อมโยงทั้ง 2 เครือข่ายด้วย Digital platform เชื่อมโยงฐานข้อมูล big data ด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่เป็นแหล่งข้อมูลด้านการท่องเที่ยวของชุมชน ผลิตภัณฑ์ การบริการและการตลาดในรูปแบบใหม่ที่รองรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจรูปแบบสังคม ออนไลน์ที่ตอบโจทย์พฤติกรรม Hi-END and Community Conscious Tourist นักท่องเที่ยวพร้อมจ่ายที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม รักชุมชนและมีจิตสำนึกต่อความยั่งยืน ร่วมกับการพัฒนาทักษะทางดิจิทัลและตลาดออนไลน์ให้กับชุมชน ทำให้เกิดการพัฒนานวัตกร ชุมชนที่มีกระบวนการคิด สามารถต่อยอดผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับมูลค่าและคุณค่าของผลิตภัณฑ์ชุมชน ด้วยทุนวัฒนธรรม ที่เป็น Soft Power สำคัญชูจุดเด่นของพื้นที่ด้วยข้อได้เปรียบของประเทศไทยในการส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยว เป็นศูนย์กลางเมืองท่องเที่ยว (Tourism Hub) สอดรับวิสัยทัศน์ประเทศไทย “IGNITE THAILAND : จุดพลัง รวมใจ ไทยเป็นหนึ่ง” ด้วยศักยภาพของคนไทย ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของ ประชาชนทุกคน

ทั้งนี้ในการทำงานร่วมกันทั้ง 2 เครือข่าย ควบคู่กับการวิเคราะห์เชิงระบบ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน ลึกซึ้ง และสะท้อนศักยภาพของแต่ละพื้นที่อย่างแท้จริง โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนประเทศไทย เกิดเป็นกลไกความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลและเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือทางวิชาการและการขยายผลสู่พื้นที่การท่องเที่ยวอื่น ผลการดำเนินงานยังชี้ให้เห็นว่า ชุมชนสามารถพัฒนาและจัดการการท่องเที่ยวได้ด้วยตนเอง เกิดรายได้เพิ่มขึ้น มีการสร้างอาชีพใหม่ และสามารถเข้าถึงตลาดได้โดยตรงโดยไม่พึ่งพาคนกลาง ส่งผลให้การลดความเหลื่อมล้ำเกิดขึ้นได้จริงในเชิงพื้นที่

เกียรติยศ ศรีสกุล ผอ.ข่าวเด่นทั่วไทยTOPNEWS ภาคกลาง