HD_web_ข่าวเด่นทั่วไทย-03-removebackground

อบจ.ฉะเชิงเทรา จัดโครงการสร้างความรู้ความเข้าใจพื้นฐานด้านการจัดทำผังเมือง เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นสู่เมืองอัจฉริยะ (Smart City)

วันที่ 8 มกราคม 2567 นายกิตติ เป้าเปี่ยมทรัพย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นประธานเปิดโครงการสร้างความรู้ความเข้าใจพื้นฐานด้านการจัดทำผังเมือง เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นสู่เมืองอัจฉริยะ (Smart City) พร้อมด้วยผู้บริหาร และหัวหน้าส่วนราชการเข้าร่วมพิธีเปิดอย่างพร้อมเพรียง โดยมีนางนุชนารถ ยุววรรณ ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวรายงาน ณ ห้องประชุมบางแก้ว องค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา

เนื่องด้วยแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี นโยบายประเทศไทย 4.0 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 12 มีการกำหนดนโยบายการพัฒนาเมืองอัจฉริยะเป็นวาระแห่งชาติที่รัฐได้มุ่งหวังให้เป็นกลไกในการกระจายความเจริญและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน การพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองอัจฉริยะเป็นการพัฒนาเมืองโดยนำเอาเทคโนโลยีใช้ร่วมกับการวางโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการ การบริหารจัดการเมืองให้เกิดความทันสมัยให้แก่ประชาชน

 

ด้วยเหตุนี้โครงการดังกล่าวจึงได้จัดขึ้นเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานด้านการจัดทำผังเมืองนำไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) มีความรู้ความเข้าใจในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เกิดการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลที่ส่งเสริมการเป็นเมืองอัจฉริยะ อีกทั้งยังมีการอบรมเชิงวิชาการและฝึกปฏิบัติการประยุกต์ใช้งานด้านการใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ด้านโครงสร้างพื้นฐานรวมไปถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ เสริมสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ โดยประยุกต์วิทยาการภูมิสารสนเทศ ทั้งด้านความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมและการบูรณาการองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการศึกษาดูงาน นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงานและการบูรณาการทำงานร่วมกันภายในองค์กร

 

 

มีกลุ่มเป้าหมายเป็นข้าราชการ พนักงานจ้าง และลูกจ้างประจำ ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทราเข้าร่วมโครงการฯ ในครั้งนี้ จัดการฝึกอบรมและศึกษาดูงานระหว่างวันที่ 8 – 12 มกราคม 2567 โดยเดินทางไปศึกษาดูงานที่จังหวัดน่านและจังหวัดเชียงใหม่

ในวันนี้เป็นการอบรมและเรียนรู้ โดยมี Booth แสดงผลงานตัวอย่าง ดังนี้
1. Virtual Reality Tour : การนำโลกจริงเข้ามาจำลองให้กลายเป็นโลกเสมือนจริง สามารถคาดการณ์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ โดยนำไปต่อยอดเพื่อช่วยในการบริหารจัดการเมือง หรือการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
________________
2. Drone Simulator : การจำลองสถานการณ์การควบคุมโดรนเพื่อช่วยฝึกทักษะในการควบคุม อีกทั้งช่วยให้ผู้ควบคุมโดรนมีทักษะในการควบคุมโดรนก่อนออกไปใช้งานจริง
________________
3. Road Monitoring System : ระบบบริหารจัดการถนนถ่ายโอน ของกองช่าง อบจ.ฉะเชิงเทรา โดยใช้โมบายแอปพลิเคชันในการแจ้งรายงานเหตุทรัพย์สินที่เสียหาย และแสดงผลผ่านระบบ Dashboard เพื่ออำนวยความสะดวกและลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ อีกทั้งยังใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศรายละเอียดสูง เพื่อบริหารจัดการทรัพย์สินถนนถ่ายโอน 23 สายทาง ที่มีข้อมูล GIS มากกว่า 20 ชั้นข้อมูลต่อสายทาง
________________
4. Advance Solution Survey (DDM)
DDM ทำเกี่ยวข้องกับ การสำรวจโดยใช้เทคโนโลยีในการเก็บข้อมูลภาคสนาม อาทิเช่น
– การเก็บภาพถ่ายทางอากาศด้วยหุ่นยนต์อากาศยานไร้คนขับ ไม่ว่าจะเป็นบนอากาศ หรือใต้นํ้า
– การเก็บค่าพิกัด ด้วยเครื่อง GNSS ที่มีความแม่นยำสูง
– การเก็บข้อมูลภาพ 360 องศาเข้ามาช่วยในการเก็บข้อมูล
เป็นต้น และนำข้อมูลเหล่านี้ที่เราลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลมาด้วยอุปกรณ์ต่างๆ มาทำเป็น Model เพื่อช่วยในการบริหารจัดการพื้นที่นั้นๆ
________________
5. Smart education (edtech) โดยโรงเรียนสร้างเสริมทักษะเทคโนโลยีเอไอแอนด์โรโบเทค บางแสน ชลบุรี หรือเอไออาร์สคูล (A I R School) เปิดให้บริการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสร้างสรรค์สมัยใหม่ด้วยหลักสูตรการประยุกต์ใช้เทคโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และโค้ดดิ้ง (Coding) กับอุปกรณ์โดรนและหุ่ยนต์ ที่แรกในภาคตะวันออก

 

อาษา/ปรีญาภรณ์/ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา