HD_web_ข่าวเด่นทั่วไทย-03-removebackground

อำเภอบางละมุง ขับเคลื่อนแก้ปัญหาความยากจน

วันที่ 20 พ.ย.67 ที่ห้องบรรยายสรุป ที่ว่าการอำเภอบางละมุง จ.ชลบุรี นายวีกิจ มานะโรจน์กิจ นายอำเภอบางละมุง เป็นประธาน การประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์อำนวยการปฏิบัติการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัย (คจพ.อ.) โดยมี หัวหน้าส่วนราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอบางละมุง เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางละมุง ตัวแทนกลุ่มพัฒนาสตรีทอำเภอบางละมุง และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุม

ด้วยรัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของ (ศจพ.) โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ การแก้ปัญหาความยากจนแบบมุ่งเป้าแต่ละครัวเรือนผ่านทีมปฏิบัติการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับพื้นที่ และได้มีการตั้ง “ทีมพี่เลี้ยง” เข้าไปจัดทำแผนครัวเรือน เพื่อไปรับทราบปัญหา ช่วยหาทางแก้ไข และให้การสนับสนุนให้ครัวเรือนมีการวางแผนแก้ปัญหาตรงตามสภาพปัญหาที่แต่ละครอบครัวกำลังเผชิญ เมื่อทราบปัญหาของแต่ละครอบครัวแล้ว ทีมพี่เลี้ยงจะได้นำข้อมูลมารายงาน ศจพ.อำเภอ เพื่อบูรณาการความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เสร็จในระดับอำเภอ ทั้ง 5 มิติ ได้แก่ 1.สุขภาพ 2.ความเป็นอยู่ 3.การศึกษา 4.ด้านรายได้ และ5.การเข้าถึงบริการภาครัฐ

โดยที่ผ่านมาอำเภอบางละมุง ได้แต่งตั้งคณะทำงาน ขับเคลื่อน ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และประชาสัมพันธ์การดำเนินงานการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อขับเคลื่อน ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และประชาสัมพันธ์การดำเนินงานการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในทั้ง 5 มิติ สำหรับการประชุมในครั้งนี้เป็นการชี้แจงผลการดำเนินการและการจัดทำแผนขับเคลื่อนการทำงานขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอบางละมุง ในปี 2567 เพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้และกลุ่มเปราะบางได้มีประสิทธิภาพ

ด้าน นายวีกิจ มานะโรจน์กิจ นายอำเภอบางละมุง เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการ คจพ.อ. ว่า สำหรับแผนแนวทางการช่วยเหลือประชาชนผู้ยากไร้ ในกลุ่มเปราะบางในพื้นที่อำเภอบางละมุง โดยในการประชุมในครั้งนี้ได้มีการชี้แจงกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงานในปี 2567 จำวน 212 ครัวเรือน เพื่อมอบหมายให้คณะกรรมการในแต่ละพื้นที่ลงพื้นที่สำรวจปัญหาและความต้องการ ก่อนจะลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งในความตั้งใจในการดำเนินแผนงานให้ความช่วยเหลือในปี 2567 อยากจะบูรณาการสร้างภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและนักธุรกิจในพื้นที่เข้ามาส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ยากไร้ในกลุ่มเปราะบ้าง โดยการตั้งเป็นกองทุน หรือจัดทำผ้าป่าขึ้นมา เพื่อหางบประมาณช่วยเหลือประชาชน เนื่องจากงบประมาณของทางราชการนั้นจะมีข้อกำจัด

ส่วนปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการให้การช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบ้างนั้น หากเป็นงบประมาณของทางราชการจะมีข้อกำจัดในการใช้งบประมาณ เช่นกรณี ซ่อมสร้างบ้านผู้ยากไร้ และหากเป็นงบประมาณของกาชาด รวมถึงหน่วยงานราชการ การที่จะเข้าไปซ่อมแซม สร้างบ้านผู้ยากไร้การใช้งบประมาณของภาครัฐจะทำได้ต่อเมื่อที่ดินนั้นเป็นของกลุ่มเป้าหมายเอง หรือไม่เจ้าของที่ดินจะต้องยินยอมให้ดำเนินการ ซึ่งถือเป็นอุปสรรคในการดำนเนินการ แต่หากมีการบูรณาการร่วมกันทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน แล้วจัดตั้งเป็นกองทุนในการช่วยเหลือผู้ยากไร้มีประสิทธิภาพ ความคล่องตัวและสะดวกมากขึ้น