HD_web_ข่าวเด่นทั่วไทย-03-removebackground

แล้งและร้อนจัด ชาวบ้านรวมตัวสูบสระจับปลา ก่อนปลาน็อคตายเพราะน้ำเริ่มเหือดแห้ง นำมาปรุงอาหารกินกลางทุ่งนา ในบรรยากาศสุดชิล

เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พศ.2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิร้อนสูงขึ้น ถึง 38-40 องศา  ทำให้น้ำในสระขนาดเล็กกลางทุ่งนาต่างๆ เริ่มเหือดแห้ง ปริมาณน้ำลดลงทุกวันอย่างต่อเนื่อง ทำให้ชาวบ้านในหลายพื้นที่เริ่มสูบสระจับปลามาไว้ขายและประกอบอาหาร เนื่องจากหากปล่อยไว้ เมื่อน้ำแห้งลงหมดปลาก็จะตาย หรือเมื่อปริมาณน้ำลดน้อยลง  น้ำก็จะร้อนปลาก็จะน็อคตายเช่นกัน  โดยเฉพาะชาวบ้าน ในพื้นที่บ้านห้วยตาลวก หมู่ที่ 13 ตำบลกังแอน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ทราบชื่อ คือนายสันติ มุตุมาจันทร์ จึงได้รวมตัวกันกับญาติๆและครอบครัว พากันออกไปสูบสระจับปลา ด้วยการนำรถไถนาพร้อมเครื่องสูบน้ำพญานาคพาครอบครัวไปที่ทุ่งนาของตนเอง เพื่อไปเปลี่ยนบรรยากาศสูบสระจับปลาย่างกินกันกับบรรยากาศกลางทุ่งนา ที่อย่างพร้อมหน้าพร้อมตากัน ซึ่งทุกปีหลังเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วก็จะชักชวนญาติพี่น้องรวมตัวกันในลักษณะนี้ ด้วยการสูบสระลงแขกจับปลากันเป็นการหาอยู่หากินแบบวิถีชีวิตชาวบ้านของคนอีสาน

 

 

 

 

 

โดยบรรยากาศทั่วไปก็เป็นไปอย่างสนุกสนาน มีการการลงแขกจับปลา หากคนไหนได้ปลาตัวใหญ่อย่างเช่นปลาคอใหญ่ หรือ ปลาช่อน ก็จะตื่นเต้นดีใจจับขึ้นมาโชว์อวดพี่น้องกันอย่างครึกครื้น เป็นภาพที่อบอุ่นและสร้างความสนุกสนานอย่างคึกคัก ที่ต่างอวดฝีมือการจับปลาให้ญาติพี่น้องได้ชมเชย ส่วนปลาที่จับได้ก็จะนำมาประกอบเป็นอาหารพื้นบ้าน ซึ่งเป็นเมนูง่ายๆ พอหาเครื่องครัวที่พอหาได้อะไรได้ก็ใส่ลงไปเป็นเครื่องปรุงประกอบอาหารอย่างเรียบง่าย เพราะว่าอยู่กลางทุ่งนา ส่วนอาหารพิเศษสุดกลางทุ่งนาเป็นซิกเนเจอร์ก็จะมี เผาปลาช่อนโรยเกลือ จิ้มเกลือหรือจิ้มแจ่วพริกผง และข้าวใหม่ร้อนๆ รวมไปถึงก้อยปลาซิวและก้อยกุ้งฝอย หมกปลาซิว ของแซ่บกลางทุ่งนารสชาติอร่อยกินกับพี่น้องและครอบครัว แทบไม่อยากวางมือ อร่อยแบบบรรยากาศวิถีชุมชน ผ่อนคลายจนลืมอากาศที่ร้อนอบอ้าวกันเลยที่เดียว

 

 

 

 

 

 

 

 

โดยเจ้าของสระ ทราบชื่อคือ นายสันติ มุตุมาจันทร์ บอกกับผู้สื่อข่าวว่า ปีที่แล้วสระกลางทุ่งนาของตนมีปลาน้อยมากต่างจากปีนี้ตนเองดีใจกว่าทุกปีที่ผ่านมา เนื่องจากสระน้ำขนาดเล็กแห่งนี้ มีปลาเยอะมากเกินความคาดหมายไว้ ปลาที่จับได้มีหลากหลายชนิดเป็นปลาธรรมชาติ เช่น ปลาหมอ ปลาดุกนา ปลาช่อน ประตะเพียน และปลานิลฯ ปีนี้ปรากฏว่าได้ปลามากกว่าปีที่แล้วเกินคาดหมาย หลังจากกิจกรรมจับปลาเสร็จแล้ว ก็พากันยกปลากลับบ้านเพื่อแจกจ่ายให้แก่ญาติพี่น้องเท่าๆ กันที่เหลือก็จะนำไปขายในหมู่บ้านที่ราคาถูกกว่าท้องตลาดทั่วไปสามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้อีกช่องทาง.

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาพ/ข่าว นพรัตน์ กิ่งแก้ว ผู้สื่อข่าว จ.สุรินทร์