HD_web_ข่าวเด่นทั่วไทย-03-removebackground

ผู้ว่าฯฉะเชิงเทรา ประธานพิธีอัญเชิญพระรูปหล่อ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศ อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ขึ้นประดิษฐานบนแท่นพระราชานุสาวรีย์ ณ บริเวณหน้าอาคารศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพุทธโสธร

วันที่ 21 พ.ค.67 ที่ บริเวณหน้าอาคารศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพุทธโสธร นายชลธี ยังตรง ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ประธานพิธีอัญเชิญพระรูปหล่อ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศ อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ขึ้นประดิษฐานบนแท่นพระราชานุสาวรีย์
ณ บริเวณหน้าอาคารศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพุทธโสธร พร้อมด้วย นางพัทธานันท์ ยังตรง นายกเหล่ากชาดจังหวัดฉะเชิงเทรา ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดฉะเชิงเทรา ศาสตราจารย์พิเศษ อรรถพล ใหญ่สว่าง อดีตอัยการสูงสุด และนายกสมาคมชาวฉะเชิงเทรา หัวหน้าส่วนราชการ นายแพทย์ศรีศักดิ์ ตั้งจิตธรรม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา แพทย์หญิงนาตยา มิลส์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพุทธโสธร บุคลากรสาธารณสุข จังหวัดฉะเชิงเทรา แพทย์ พยาบาล นักศึกษาแพทย์ บุคลากรโรงพยาบาลพุทธโสธร ร่วมพิธีฯ

โรงพยาบาลพุทธโสธร ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2478 เป็นสุขศาลาชั้น 1 สังกัดเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราโรงพยาบาลได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาเกือบ 90ปี ทั้งในด้านการรักษาพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและฟื้นฟูสุขภาพประชาชน รวมถึงด้านการศึกษา โดยโรงพยาบาลพุทธโสธรได้จัดตั้ง หน่วยภารกิจศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิกขึ้น ในปี 2550 เพื่อเพิ่มศักยภาพของโรงพยาบาลให้สามารถผลิตบัณฑิตแพทย์โดยมีวัตถุประสงค์ในการเพิ่มโอกาสสำหรับนักเรียน ในพื้นที่ได้ศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ และประชาชนสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้มากขึ้น ปัจจุบันผลิตบัณฑิตแพทย์ จำนวน 11 รุ่น รวมทั้งสิ้น 307คน
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก ที่ทรงมีคุณูปการอันใหญ่หลวงต่อปวงชนชาวไทย ในการพัฒนาด้านการแพทย์การสาธารณสุขและการพยาบาล ตลอดจนการเรียนการสอนการผลิตแพทย์ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อันเป็นการวางรากฐานแก่การแพทย์และการสาธารณสุข ให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยะประเทศ ทั้งยังทรงสละเวลาส่วนพระองค์ทุนทรัพย์ และทรงอุทิศพระวรกายในการประกอบพระราชกรณียกิจด้านการแพทย์และสาธารณสุขจนได้รับสมัญญาภิไธยจากแพทย์และประชาชนทั่วไปว่า “บิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทยและพระบิดาแห่งการสาธารณสุขไทย”
ในการนี้ กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมศิลปากรได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตในการจัดสร้างพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ขนาดเท่าครึ่งของพระองค์จริงประดิษฐาน ณ โรงพยาบาลพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ เป็นเครื่องหมายแห่งความจงรักภักดี และเป็นสัญลักษณ์แห่งการกระทำความดีเพื่อกระตุ้นเตือนแก่บรรพชนในทุกรุ่น ให้ยึดเป็นแบบฉบับและดำเนินตามพระราชปณิธานของพระองค์ ได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว รวมระยะเวลาในการ
ก่อสร้างทั้งสิ้น 10ปี เป็นจำนวนเงิน 6,030,432.43บาท และได้กำหนดประกอบพิธีอัญเชิญพระรูปหล่อสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ขึ้นประดิษฐานบนแท่นฐานพระราชานุสาวรีย์ในวันนี้

 

ต่อเนื่อง พิธีเปิดรถรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่ พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์คันแรกของประเทศ
โดยคุณสมบัติของรถรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่ สามารถรับบริการได้ครั้งละ 6คน ในเวลา 1 ชม. เจาะเก็บได้ประมาณ 20 คน ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของเส้นโลหิตในการเจาะเก็บ การออกหน่วยรับบริจาคโลหิต ใช้เวลา 4-5 ชม.ในกรณีถ้ามีผู้บริจาคโลหิตมีปริมาณมากสามารถกางห้องรับบริจาคโลหิตข้างตัวรถได้อิก เตียง โดยใช้เตียงสนามและเครื่องปรับอากาศเคลื่อนที่ มีอุปกรณ์ที่มีความมาตรฐานมากขึ้นเช่น เตียงบริจาคโลหิตมีการปรับระดับเอนนอน ขึ้นและลง เครื่องชั่งถุงเลือดอัตโนมัติสามารถหยุดการไหลของโลหิตเมื่อได้จำนวนที่ต้องการพร้อมมีการเขย่าตลอดเวลาและมีเสียงเตือน เครื่องตัดสายถุงโลหิต ตัดสายโดยมไม่มีการรั่วซึม ป้องกันอากาศเข้ารถรับบริจาคโลหิตเวลาจอดรับบริการ ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เป็นหลัก แม้ในขณะอากาศที่ไม่ค่อยมีแสงก้ยังผลิตกระแสไฟฟ้าได้ตลอดเวลา โดยใช้แบตเตอรีสำรองไฟ จำนวน 2ลูก แล้วแปลงเป็นกระแสไฟฟ้า220 โวลต์รองรับการใช้งานได้ 5-6 ชม.
ถ้าใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ไม่ได้จะมีอุปกรณ์ต่อปลั๊กพ่วงจากไฟบ้านโดยไม่ต้องผ่านตู้โหลดไฟ ถ้าไม่มีจุดต่อไฟบ้านจะมีเครื่องปั่นไฟได้อย่างต่อเนื่อง

อาษา/ปรีญาภรณ์/ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา