HD_web_ข่าวเด่นทั่วไทย-03-removebackground

แกงใบสันดาน อาหารพื้นถิ่นมีเฉพาะอำเภอขลุง ในงานดนตรี กวี ศิลป์ ถิ่นขลุงบุรี

ที่บริเวณลานวัดตะปอนใหญ่ ตำบลตะปอน อำเภอขลุง วัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรีร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดงาน ลานวัฒนธรรมสร้างสุข “ดนตรี กวี ศิลป์ ถิ่นขลุงบุรี” การแสดงของนักเรียนจากโรงเรียนในชุมชน บอกเล่าเรื่องราวของวิถีชีวิตในสมัยก่อน อย่างเช่นการแสดงรำซ่อนกุ้ง สื่อให้เห็นวิถีการหากับข้าวในสมัยก่อนซึ่งมี อุปกรณ์ที่เรียกว่าชะนาง ใช้สำหรับตัก แหย่ไปตามซอก ตามหนองน้ำลำคลอง เพื่อให้ได้ กุ้ง หรือสัตว์น้ำชนิดอื่น จากนั้นจับใส่ใน ข้อง ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ถูกสานขึ้นด้วยไม้ไผ่
มีกิจกรรมการวาดภาพของกวีพื้นถิ่น การละเล่นของชาวบ้าน อาหารพื้นถิ่นที่หากินได้ยาก เช่น ”แกงใบสันดาน“

นายมนต์สิทธิ์ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี นายอำเภอขลุง วัฒนธรรมจังหวัด เดินชมตลาดและร่วมกินอาหารพื้นถิ่น
.. แกงใบสันดาน ใบสันดาน เป็นพืชประเภทไม้เลื้อย (ตระกูลเดียวกันกับเถาวัลย์เขียว) นัดพบเห็นตามสวนผลไม้ มีนิสัยในการดำรงชีวิตโดยการเลื้อยพันธุ์ตามต้นมังคุด ต้นเงาะ หรือต้นทุเรียนของชาวบ้าน บางที่พบเห็นขึ้นตามแนวรั้ว รสชาติของใบสันดาน มีรสเปรี้ยวเปรี้ยว มีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ ส่วนการนำไปประกอบอาหาร มักทำเป็นเมนูแกงส้ม เช่นแกงส้มใบสันดานใส่ปลาเรียลเชียว แกงใส่ปลากด แกงใส่ปลาไหล ปลาหลด หรือจะประยุกต์แกงใส่กระดูกหมู ก็ได้เช่นกันเช่นกัน รสชาติของใบสันดานเมื่อแกงเสร็จแล้ว ทำให้รสชาติของอาหารออกรสเปรี้ยว แต่ไม่เปรี้ยวโดด ถึงจะใส่ใบสันดานมากเพียงใดรสชาติของอาหารก็จะไม่เปรี้ยวเกินไป “ซึ่งแตกต่างกับใบมะขามหรือใบชะมวง” มีภาพชิม (ผู้ว่าฯไม่ได้ชิม มี นายอำเภอขลุงชิม วัฒนธรรมจังหวัดชิม และอ้วนสมเศียรผู้สื่อข่าวชิม)

หาทานได้เฉพาะในพื้นที่ ตำบลตะปอน อำเภอขลุง ซึ่งเป็นเมนูอาหารที่แปลกแต่มีรสชาติอร่อยเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของอำเภอขลุง
นอกจากนี้ ยังเป็นเมนูที่ได้เข้าร่วมคัดเลือกโหวตให้เป็นสุดยอดเมนูอาหารถิ่นของจังหวัดจันทบุรี “ รสชาติ… ที่หายไป The Lost Taste” ในปี 2567 ของสภาวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรีอีกด้วย..

.. ชุมชนบ้านตะปอนใหญ่ เป็นชุมชนที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน ที่เชื่อกันว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ใช้เป็นเส้นทางในการเดินทัพไปยังเมืองตราดเพื่อรวบรวมไพล่พลไปกอบกู้กรุงศรีอยุธยา และจากคำบอกเล่า ชุมชนตะปอนใหญ่ เป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีความโดดเด่นและหลากหลายของมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าและมีความสำคัญ ทั้งที่จับต้องได้และมรดกภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดมาแต่บรรพบุรุษ เป็นเอกลักษณ์ทางภูมิปัญญา ที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตของชุมชนจันทบุรีอย่างชัดเจน โดยตลาดโบราณ 270 ปี ได้รับความสนใจจากประชาชนและนักท่องเที่ยวเดินทางมาเลือกซื้อสินค้าและชื่นชมความเข้มแข็งของชุมชนที่มีอัตลักษณ์ความโดดเด่นด้านประเพณีและวัฒนธรรม พ่อค้า แม่ค้า จะแต่งกายย้อนยุคขายสินค้าแก่ลุกค้าด้วยมิตรไมตรี ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอาคาร คาว – หวาน พื้นเมืองที่ไม่มีขายในตลาดทั่วไป

 

ตลาดแห่งนี้ ตั้งอยู่ในบริเวณ ชุมชนคุณธรรมวัดตะปอนใหญ่ เกิดจากความร่วมมือระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน โดยการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการบริหาร มีลานวัฒนธรรมที่ส่งเสริม อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาพื้นบ้าน และเป็นตลาดที่เต็มไปด้วยบรรยากาศของความสุข ทุกเพศ ทุกวัย เต็มไปด้วยรอยยิ้ม และมิตรภาพ ความเอื้อเฟื้อ ต่อกัน ซึ่งเป็นเสน่ห์ของตลาดแห่งนี้ ที่สามารถสร้างความประทับใจให้แก่ผู้มาเยี่ยมเยื่อนได้ตลอดเวลา จึงอยากขอเชิญชวนให้ร่วมกันอุดหนุน ผลิตภัณฑ์ชุมชน อาหารพื้นบ้าน เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ และสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนแห่งนี้ ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง

 

สมเศียรโชติสนิท ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดจันทบุรี