HD_web_ข่าวเด่นทั่วไทย-03-removebackground

ปีนี้คึกคัก ชุมชนบ้านปะเดียก อ.บัวเชด 4 ชนเผ่า ร่วมสืบสาน ประเพณีแซนโฎนตา บุญเดือนสิบของชาวไทยเชื้อสายเขมร

วันที่ 2 ตุลาคม 2567 ผู้สื่อข่าวประจำจ.สุรินทร์รายงานว่า เวลาประมาณ0 3:00 น. ที่วัดปะเดียก ต.บัวเชด จ.สุรินทร์ ได้ทำพิธีแซนโฏนตาบูชาบรรพบุรุษ(แซน-โดน-ตา) โดยมีผู้น้ำชุมชน เเละชาวบ้านในพื้นที่ ร่วมกันนำเครื่องเซ่นไหว้ อาหาร คาว หวาน น้ำดื่ม น้ำเปล่า น้ำหวาน สุรา ไก่ย่าง ปลาย่าง ผลไม้ ข้าวต้มมัด จัดวางไว้ในกะเฌอหรือขันโตก เพื่อประกอปพิธีเซ่นไหว้

 

 

 

 

 

 

ซึ่งประเพณีวันแซนโฏนตา เป็นวัฒนธรรมชาวสุรินทร์ และจังหวัดใกล้เคียง ในดินแดนอีสานใต้ คำว่าแซนโฏนตา (แซน-โดน-ตา) เป็นภาษาเขมร แปลว่า เซ่นไหว้บูชาบรรพบุรุษ เป็นประเพณีรวมญาติ วันครอบครัวและเครือญาติจะได้กลับมาพบหน้ากัน เพื่อทำบุญให้บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ

 

ซึ่งชุมชนบ้านปะเดียกเเห่งนี้ เป็นพื้นที่4ชนเผ่าชาติพันธ์ ไทย-เขมร-กูย-ลาว หมู่บ้านใกล้แนว ชายเเดนไทย-กัมพูชา ที่อยู่ร่วมกันมาตั้งเเต่รุ่นปู่ย่าตาทวด หล่อล้อมร่วมกันกลายเป็นชุมชนที่มีความรัก ความสามัคคี อยู่อย่างปรกติสุขมาชานาน มีภาษาท้องถิ่น เขมร-กูย-ลาว ที่เป็นอาริธรรมคล้ายกัน อยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน

 

 

 

โดยไงแซนโฎนตา (วันสารทใหญ่) คือ แรม 14 ค่ำ เดือนสิบ(10) ปี 2567 และเป็นวันที่ญาติพี่น้อง ภายในครอบครัว จะต้องไปร่วมกันทำบุญที่วัด และกลับมาเซ่นไหว้บรรพบุรุษอีกครั้งที่บ้าน เชื่อว่ายมบาลจะปล่อยวิญญาณออกมาในวันเวลาแตกต่างกันตามแต่ผลบุญที่ทำไว้ ใครถูกปล่อยออกมาก่อนก็จะได้รับอานิสงส์มากกว่าวิญญาณที่ถูกปล่อยทีหลัง ดั้งนั้นในวันแรม 14 ค่ำ จึงเป็นการอ้อนวอนให้ยมบาลปล่อยวิญญาณออกมาให้หมดเพื่อให้มารับอานิสงส์ผลบุญด้วยตนเอง ที่ครอบครัวญาติพี่น้องได้ทำบุญและประกอบพิธีเซ่นไหว้ให้วิญญาณ จะได้ทุกข์ทรมานน้อยลง และยังเชื่ออีกว่าหากไม่มีญาติพี่น้องทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ วิญญาณเหล่านั้นจะอดอยากทุกข์ทรมาน และอาจโกรธแค้นสาปแช่งผู้คนต่างๆ นานา การเซ่นไหว้ จึงเป็นการขอความคุ้มครองและอ้อนวอนให้บรรพบุรุษปกปักรักษาตนเองให้อยู่เย็นเป็นสุขด้วยตามความเชื่อของคนไทยเชื้อสายเขมร.

 

 

 

 

ภาพ/ข่าว พูนสิน ยั่งยืน ผู้สื่อข่าว จ.สุรินทร์