วันพฤหัสบดี ที่ 6 ก.พ. 2568 เวลา 13.00 น. พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผบ.ตร. พล.ต.อ.ธนา ชูวงศ์ รอง ผบ.ตร.(สส) มอบหมายให้ พล.ต.ท.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ ผู้ช่วย ผบ.ตร.(สส 1) เดินทางมาประชุมขับเคลื่อนพร้อมทั้งแนะนำชี้แจงแนวทางการปฏิบัติราชการงานสืบสวน และงานสอบสวน ให้แก่ข้าราชการตำรวจในสังกัด ภ.5 เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของ ผบ.ตร. และ รอง ผบ.ตร.(สส) โดยมี พล.ต.ต.พิเชษฐ จีระนันตสิน รอง ผบช.ภ.5 พล.ต.ต.ธนะรัชต์ ชุ่มสวัสดิ์ รอง ผบช.ฯ รรท.รอง ผบช.ภ.5 พล.ต.ต.วรพงศ์ คำลือ ผบก.สส.ภ.5 พล.ต.ต.ยุทธนา แก่นจันทร์ ผบก.ฯ รรท.ผบก.ภ.จว.ชม. พ.ต.อ.สวัสดิ์ เตียวิรัตน์ รอง ผบก.ฯ รรท.ผบก.กค.ภ.5
รอง ผบก.ฯ ที่รับผิดชอบงานสืบสวนสอบสวน แต่ละ ภ.จว. ในสังกัด ภ.5 และข้าราชการตำรวจสังกัด ภ.5เข้าร่วมการประชุม
ได้กำชับให้ปฏิบัติดังนี้ ในข้อสั่งการงานสืบสวน
1.การรายงานเหตุให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น “ทันทีเมื่อมีเหตุเกิดขึ้น” โดยให้รายงานทางโทรศัพท์ ทางไลน์ หรือช่องทางที่สามารถทำได้ แล้วจึงรายงานทางเอกสารตามประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ 18 บทที่ 1 ด้วย
2.ให้จัดทำแฟ้มหมายจับ และมีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบแต่ละหมายจับให้ชัดเจนในแฟ้มต้องมีข้อมูลครบถ้วนถูกต้องสมบูรณ์มีการเคลื่อนไหวเป็นปัจจุบันตลอดเวลา โดยให้ผู้บังคับบัญชาควบคุม สั่งการ เร่งรัดคดีทุกระยะ จนกว่าจะสืบสวนคลี่คลายคดีหรือปิดคดีได้ ตรวจสอบทุกหมายว่าขาดอายุความหรือถอนหมายแล้วหรือไม่ทุกครั้ง
3.ให้เร่งรัดจับกุมตามหมายจับ โดยเฉพาะหมายที่ใกล้หมดอายุความโดยใช้แนวคิด “กัดไม่ปล่อย ล่าไม่ถอย คอยไม่เลิก”
4.เมื่อมีเหตุเกิดขึ้นฝ่ายสืบสวนทุกระดับ ต้องลงไปในพื้นที่เกิดเหตุทันที ไม่ต้องรอ สั่งการ ให้ออกไปพื้นที่เกิดเหตุโดยเร็ว โดยให้ผู้บังคับบัญชาระดับภาคและ ภ.จว. ลงไปเป็นผู้อำนวยการสั่งการด้วยตนเอง
5.ต้องมีข้อมูลท้องถิ่นครบถ้วน – แผนที่เดินดิน สถานที่สำคัญ – ข้อมูลบุคคลพ้นโทษ – ข้อมูลกล้อง CCTV-ข้อมูลอาชญากรรม