คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา ลงพื้นที่ตรวจสอบสวนทุเรียน นายทุนปลูกทุเรียนในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแควระบม และป่าสียัด

วันนี้ 28 กพ.68 ณ ที่ว่าการอำเภอท่าตะเกียบ นายขจรเกียรติ รักพานิชมณี ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา มอบหมายให้ นายพีรพล ลือล่า ปลัดจังหวัดฉะเชิงเทรา ร่วมต้อนรับนายชีวะภาพ ชีวะธรรม ประธานกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคณะ ประชุมติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหากรณีบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อปลูกทุเรียนโดยกลุ่มทุนต่างชาติ พร้อมลงพื้นที่ตรวจสอบสวนทุเรียน ตำบลคลองตะเกรา อำเภอ

ท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา ร่วมกับนายอำเภอท่าตะเกียบ เจ้าหน้าที่หลายฝ่าย และสื่อมวลชนทุกสังกัด
โดย สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดฉะเชิงเทรา และหน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้ท่าตะเกียบ ได้ร่วมกันตรวจสอบการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่าและการครอบครองป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแควระบม และป่าสียัด โดยไม่ได้รับอนุญาต ในท้องที่ตำบลคลองตะเกรา อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา พบการปลูกทุเรียนในเขตป่า
สงวนฯ

โดยนายทุนจำนวน 2 แปลง เนื้อที่รวมประมาณ 342 ไร่ พบการเปลี่ยนแปลงสภาพป่าขุดสระเก็บน้ำ และสร้างสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่
ในที่ประชุมรับฟังข้อมูลจากทุกหน่วยงานเพื่อรายงานผลการปราบปรามนายทุนปลูกทุเรียนในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแควระบม และป่าสียัด พื้นที่ 344 ไร่ 75 ตารางวา โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน
ส่วนที่ 1 แปลง คทช.ที่ได้รับอนุญาต แปลงที่ 1 เนื้อที่ 130 ไร่ 1 งาน แปลงที่ 2 เนื้อที่ 8 ไร่ 1 งาน 90 ตารางวา
ส่วนที่ 2 แปลง คทช.ยังไม่ได้รับอนุญาต แปลงที่ 1 เนื้อที่ 35 ไร่ 3 งาน 1 ตารางวา แปลที่ 2 เนื้อที่ 72 ไร่ 2 งาน 2
ตารางวา และ ส่วนที่ 3 ไม่เป็นแปลง คทช. แปลงที่ 1 เนื้อที่ 61 ไร่ 2 งาน 35 ตารางวา แปลงที่ 2 เนื้อที่ 92 ไร่ 82
ตารางวา
ทั้งนี้ ในส่วนที่ 1 อยู่ในระหว่างรอดำเนินการ ส่วนที่ 2 กับส่วนที่ 3 ได้แจ้งความดำเนินคดี เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 ประกอบด้วยเนื้อที่ 164 ไร่ 2 งาน 64 ตารางวา และรอดำเนินการ อีก 40 ไร่ 3 งาน 21 ตารางวา ซึ่งผลการลงพื้นที่และตรวจสภาพจะได้รายงานผลการลงพื้นที่ของคณะกรรมาธิการต่อผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา

โดยเบื้องต้น ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้มอบแนวทางดำเนินการ กรณีนายทุนปลูกทุเรียน ในแปลง คทช,
ที่ได้รับอนุญาต (ยังไม่จัดที่ดินให้ราษฎร) แนวทางที่ 1
1. ผวจ./ผู้แทน แจ้งความดำเนินคดี
2. จังหวัดรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและพืชอาสิน
3.จังหวัดปลูกฟื้นฟูสภาพป่า
แนวทางที่ 2
1.ผวจ./ผู้แทน แจ้งความดำเนินคดี
2.จังหวัดส่งคืนพื้นที่ให้กรมป่าไม้
3.กรมป่าไม้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและพืชอาสิน
4.กรมป่าไม้ปลูกฟื้นฟูสภาพป่า

แนวทางที่ 3
1.กรมป่าไม้ แจ้งความดำเนินคดี
2.กรมป่าไม้ขอคืนพื้นที่
3.กรมป่าไม้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและพืชอาสิน
4.กรมป่าไม้ปลูกฟื้นฟูสภาพป่า ต่อไป

 

อาษา/ปรีญาภรณ์/ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา