กำหนด 3 วัตถุประสงค์ ได้แก่
(1) เพื่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน โดยการจัดหา จัดซื้อ จัดสรร
พัฒนาที่ดินให้แก่เกษตรกรผู้ยากจน ผู้ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในที่ดิน กลุ่มเกษตรกร องค์กรชุมชน เครือข่ายองค์กรชุมชน หรือสถาบันเกษตรกร ซึ่งขอความช่วยเหลือกับ ธนาคารที่ดิน โดยที่รัฐให้การสนับสนุนงบประมาณ และประชาชนได้มีที่ดินทำกินและผ่อนชำระคืนให้แก่รัฐ โดย ธนาคารที่ดิน นำรายได้ไปดำเนินการกระจายการถือครองที่ดินอย่างต่อเนื่อง มีการคัดเลือกวิสาหกิจ และกลุ่มเกษตรกรที่เหมาะสมในการดำเนินโครงการฯ ได้ มีการประเมินความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ และราคาที่ดิน ก่อนการซื้อ การผ่อนชำระคืนของผู้เข้าร่วมโครงการฯ ในช่วงแรกจะยกเว้น “ค่าเช่าซื้อ” เป็นการ “เช่า” เนื่องจากอยู่ระหว่างการพัฒนาและปรับปรุงพื้นที่ ส่งผลให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินได้เต็มประสิทธิภาพ ส่วนการ “เช่าซื้อ” มีการกำหนดวงเงินให้เกษตรกรเป็นหนี้ไม่เกินรายละ 1 ล้านบาท มีอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อ ร้อยละ 3 ต่อปี (ดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก (Effective Rate) ผ่อนชำระไม่เกิน 30 ปี ปัจจุบันมีวิสาหกิจ ที่มีประสิทธิภาพผ่อนชำระเงินค่าเช่าซื้อจำนวน 10 วิสาหกิจ จาก 11 วิสาหกิจ คิดเป็นร้อยละ 90.90
(2)เพื่อให้ความช่วยเหลือสนับสนุนให้ชุมชนมีการบริหารจัดการที่จัดการที่ดินร่วมกัน ความสำเร็จในการพัฒนาและใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างเหมาะสม การดำเนินงานโดยวิสาหกิจเป็นหลัก มีการจัดการร่วมกันผ่านข้อกำหนดของวิสาหกิจ ส่วน “ธนาคารที่ดิน” จะเป็นพี่เลี้ยงโครงการ และทำข้อตกลงการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ และประเมินการบริหารจัดการที่ดินกับวิสาหกิจ
(3)การบูรณาการร่วมมือกับหน่วยงานรัฐ ทั้งสถาบันการศึกษา และภาคีเครือข่ายในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาศักยภาพ และคุณภาพชีวิตให้แก่เกษตรกรโครงการฯ ได้บูรณาการความร่วมมือกับทั้งหน่วยงานภาครัฐ (หน่วยงานราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น) สถาบันการศึกษา ภาคีเครือข่ายในท้องถิ่น ภาคเอกชน ในการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน ที่เป็น “ทุน” แต่ไม่ใช่ในรูปแบบ “เงิน” อาทิเช่น พันธุ์พืชและสัตว์ องค์ความรู้ในการทำการเกษตร องค์ความรู้ในการพัฒนาด้านปริมาณและคุณภาพผลผลิต การแปรรูปและต่อยอดผลผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ และช่องทางการตลาดออนไลน์
4.การประเมินประสิทธิภาพ (Efficiency) ประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณ พบว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ.2567 โครงการฯ ได้รับจัดสรรงบประมาณ จำนวน 482,532,600 บาท ผลการใช้จ่ายทั้งสิ้น (ณ 30 ก.ย.2567) จำนวน 116,648,305 บาท คิดเป็นร้อยละ 24.17 ของงบประมาณที่ได้รับจัดสรรสำหรับประสิทธิภาพ “ด้านการบริหารจัดการและดำเนินงาน” พบว่า การดำเนินงานโครงการฯ ในพื้นที่ที่ได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินแล้ว เป็นไปด้วยความรวดเร็วเนื่องจากมีกระบวนการในการพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ก่อนการจัดซื้อที่ดิน “ธนาคารที่ดิน” มีการลงพื้นที่เพื่อติดตาม ประเมินผลโดยไม่แจ้งล่วงหน้าทุก 3 เดือน เพื่อประเมินการใช้ประโยชน์ในที่ดินที่ได้รับจัดสรร สามารถลดและป้องกันปัญหาการปล่อยที่ดินทิ้งร้างหรือไม่ใช้ประโยชน์ในที่ดินได้
5. การประเมินผลกระทบ (Impact) พิจารณาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม พบว่า ในพื้นที่ที่ศึกษาสมาชิกในวิสาหกิจมีรายได้เฉลี่ย 16,000 บาทต่อเดือน เมื่อพิจารณาเทียบกับข้อมูลเส้นความยากจน (Poverty line) มีค่าเฉลี่ยรายได้เฉลี่ยที่ 2,853.84 บาทต่อเดือน พบว่าสมาชิกในวิสาหกิจในพื้นที่โครงการฯ มีรายได้ “มากว่า” ระดับเส้นความยากจน สูงประมาณ 5 เท่าสำหรับผลกระทบด้านสังคม โครงการฯ เป็นการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้แก่สมาชิกในกลุ่ม ส่งผลให้เกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงวัยไม่เกิดความอ้างว้างหรือหมดเป้าหมายในชีวิต ส่งผลให้มีภาวะทางจิตใจที่ดี
6. การประเมินความยั่งยืน (Sustainable) การดำเนินโครงการฯ มีความยั่งยืน ”ด้านสินทรัพย์ที่ดิน-การถือครองที่ดิน“ เนื่องจากกรรมสิทธิ์ในที่ดินยังคงเป็นของหน่วยงานเจ้าของโครงการจนกว่าวิสาหกิจจะผ่อนชำระค่าเช่าซื้อได้ครบถ้วน การซื้อขายจำเป็นต้องให้สมาชิกทุกคนในวิสาหกิจมีมติร่วมกันอย่างเป็นเอกฉันท์ ประกอบกับมีการคัดเลือกพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาด้านการทำเกษตรกรรม ก่อนการจัดซื้อ ส่งผลให้ไม่เกิดปัญหาประชาชนไม่ต้องการที่ดินที่ได้รับจัดสรรไปสำหรับความยั่งยืนด้านการเงิน ในระยะยาว ธนาคารที่ดิน จะนำรายได้จาก ”ดอกเบี้ยในการดำเนินโครงการ“ ไปเป็น ”ทุน“ ในการจัดซื้อ จัดสรรและพัฒนาที่ดินต่อไป โดยอาจไม่จำเป็นต้องขอรับการสนับสนุนงบประมาณต่อไปในอนาคต
นอกจากนั้น ยังเกิดความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม จากแนวทางการดำเนินงานของวิสาหกิจ และข้อตกลงระหว่างวิสาหกิจและ ธนาคารที่ดิน ที่กำหนดให้ลด-เลิกการใช้สารเคมีในการทำการเกษตร และการส่งเสริมการปลูกพืชผสมผสาน
อย่างไรก็ตาม การดำเนินโครงการพบปัญหาอุปสรรคบางประการ โดยสามารถแบ่งได้ ดังนี้
(1) ปัญหาอุปสรรค กระบวนการจัดซื้อที่ดินมีความล่าช้า การขาดแคลนบุคลากร กระบวนการคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการ
(2) ปัญหาอุปสรรคของวิสาหกิจ ผู้เข้าร่วมโครงการ อาทิ สมาชิกมีความรู้ด้านการเกษตรในระดับที่แตกต่างกัน ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่เดิม และการบุกรุกของสัตว์
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของโครงการฯ กองประเมินผล 1 สำนักงบประมาณ จึงมีข้อเสนอแนะให้ ธนาคารที่ดิน ติดตามและเร่งรัดกระบวนการพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่และราคาที่ดิน ปรับห้วงเวลา และกระบวนการในการพิจารณาความเหมาะสม ให้สามารถดำเนินการพิจารณาแล้วเสร็จก่อนการเสนอขอรับงบประมาณควรมีพื้นที่สำรองเพื่อลดความเสี่ยงในกรณีพื้นที่เป้าหมายไม่สามารถจัดซื้อได้ตามแผนที่กำหนด เพื่อให้ไม่เกิดการเสียโอกาสในการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณตลอดจนปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาความเข้มแข็งของกลุ่มวิสาหกิจให้มีรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น
