สีสัน พิธีบวงสรวงปราสาทยายเหงา โบราณสถานพันปี รับสงกรานต์ คอหวยไม่พลาดส่องเลขเด็ด หวังรับโชคปีใหม่ไทย

เมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2568 ที่โบราณสถานปราสาทยายเหงา บ.พูนทราย ม.9 ต.บ้านชบ อ.สังขะ จ.สุรินทร์ นายบุญเลี้ยง เรียมทอง นายอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานเปิดงานพิธีบูชาปราสาทยายเหงา โดยมีพิธีบวงสรวงและรำบวงสรวงถวายปราสาทยายเหงา และ กิจกรรมรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ จัดขึ้นโดย องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านชบ  โดยมีนางนางณัชชา  สุวรรณ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านชบ เป็นรักษาการนายก อบต.บ้านชบฯ จัดขึ้นโดยมีวัตถุเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ ได้ตระหนักถึงความสำคัญ ในการสืบสานและอนุรักษ์ไว้ซึ่งศาสนสถานโบราณสำคัญทางประวัติศาสตร์ อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ที่ล้ำค่า และ เห็นความสำคัญในการสืบทอดศิลปะวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น รวมถึงเพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชน และสืบทอดประเพณีวันสงกรานต์ บรรยากาศเป็นไปอย่างอบอุ่นอย่างยิ่ง

 

 

 

 

 

 

โดยในช่วงภาคค่ำเริ่มตั้งแต่เวลา 16.00 น.มีกิจกรรมการแสดงศิลปะ วัฒนธรรมจากนานาชาติ ประกวดเทพีจำแลง การแข่งขันชกมวยการกุศล การแสดงมหรสพดนตรี จากวงหน้าหมีแบนด์ ตักไข่ปลาพาโชคและสินค้า OTOP อีกด้วย

ทั้งนี้ก่อนที่จะมีพิธีบวงสรวงปราสาทยายเหงา คนเฒ่าคนแก่ผู้สูงอายุ ได้ประกอบพิธีเซ่นไหว้ศาลปู่ตาเจ้าที่ พร้อมทั้งเสี่ยงทายกระดูกคางไก่ ว่างานจะราบรื่นหรือไม่ปรากฏว่ากระดูกคางไก่มีความสวยงาม แสดงว่างานนี้จะราบรื่นและมีความสุข นอกจากนี้ชาวบ้านคอหวย ต่างไม่พลาดที่จะพากันส่องเลขเด็ดจากธูปที่เซ่นไหว้ ที่ปรากฏเลข   343 ให้เห็น และต่างจะพากันนำเลขเด็ดดังกล่าวไปเสี่ยงโชคในงวดที่จะถึงนี้ หวังว่าจะโชคดีรับปีใหม่ไทยกันอีกด้วย

 

นอกจากนี้ ระหว่างที่มีพิธีบวงสรวงกพบว่า นายจอง ศิลาจันทร์ อายุ 68 ชาวบ้านไทยสมบูรณ์ ม.2 ต.บ้านชบ อ.สังขะ จ.สุรินทร์ ได้แต่งตัวแฟนซีสีสัน ทาหน้าทาปากเป็นตัวตลก มาร่วมเต้นรำและสร้างสีสันให้กับงาน เข้ากับช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้ได้เป็นอย่างดี

 

 

 

 

 

 

สำหรับปราสาทยายเหงา เป็นโบราณสถานในศาสนาฮินดูศิลปะเขมรโบราณแบบนครวัด สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 17 ประกอบด้วยปราสาท 3 หลัง ตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปราสาทหลังกลางและหลังทิศใต้ก่อด้วยอิฐอยู่บนฐานเดียวกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีมุขยื่นออกมาด้านหน้ามีประตูทางเข้าด้านเดียว ผนังก่อทึบแกะสลักเป็นรูปบานประตูปิดอยู่ ปราสาทหลังกลางส่วนยอดได้พังทลายเป็นส่วนใหญ่ ส่วนหลังทิศใต้มีสภาพที่สมบูรณ์กว่า ส่วนปราสาทหลังทิศเหนือเหลือเพียงส่วนฐานที่ก่อด้วยอิฐและศิลาแลง ปัจจุบันมีการบูรณะปรับปรุงบริเวณรอบปราสาท  มีทางเข้า – ออกประตูเดียว มีกำแพงแก้วก่อด้วยอิฐล้อมรอบ ผังขององค์ปราสาทเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม ปลายกรอบของหน้าบัน สลักลวดลายเป็นรูปมกรคาบนาค 5 เศียร ส่วนองค์ด้านทิศเหนือเหลือเพียงฐาน

 

 

 

 

 

นพรัตน์ กิ่งแก้ว ผู้สื่อข่าว จ.สุรินทร์  รายงาน