จังหวัดสมุทรสาครปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ 1,515,00 ตัว คืนสู่แหล่งนําธรรมชาติเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศ

ในวันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน 2568 เวลา 10.00 น. ณ จุดชมวิวชายทะเลกาหลง หมู่ที่ 7 ตำบลกาหลง อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
ดร.ณมาณิตา กลับบ้านเกาะ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำคืนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศจังหวัดสมุทรสาคร ณ จุดชมวิวชายทะเลกาหลง หมู่ที่ 7 ตำบลกาหลง อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ตามโครงการความร่วมมือระหว่างสำนักงานประมงจังหวัดสมุทรสาคร ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลกาหลง โดยมีนายวิชัย ถีระปราโมทย์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกาหลง กล่าวต้อนรับ นายเผดิม รอดอินทร์ ประมงจังหวัดสมุทรสาคร กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารหน่วยงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในจังหวัดสมุทรสาคร หน่วยงานกรมประมงภายใต้ FC สมุทรสาคร สมาชิกสภาฯ หัวหน้าส่วนราชการ พนักงานส่วนตำบลกาหลง ผู้ใหญ่บ้าน อถล. และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมพิธีฯจำนวนมาก ร่วมกันปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ณ บริเวณสะพานปลา หมู่ที่ 7 ตำบลกาหลง อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร

ในการนี้ นายเผดิม รอดอินทร์ ประมงจังหวัดสมุทรสาคร กล่าวว่า การจัดกิจกรรมครั้งนี้ดำเนินงานการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ ภายใต้แผนปฏิบัติการดำเนินการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำของกรมประมง ทั้งหมด 7 มาตรการ ได้แก่…
มาตรการที่ 1 การควบคุมและกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำทุกแห่งที่พบการแพร่ระบาด
มาตรการที่ 2 การกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการปล่อยปลาผู้ล่าอย่างต่อเนื่อง
มาตรการที่ 3 การนำปลาหมอคางดำที่กำจัดออกจากระบบนิเวศไปใช้ประโยชน์
มาตรการที่ 4 การสำรวจและเฝ้าระวังการแพร่กระจายประชากรปลาหมอคางดำในพื้นที่เขตกันชน
มาตรการที่ 5 สร้างความรู้ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมในการกำจัดปลาหมอคางดำ
มาตรการที่ 6 การพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดปลาหมอคางดำ
มาตรการที่ 7 การฟื้นฟูระบบนิเวศ
จังหวัดสมุทรสาคร มีการกำจัดปลาหมอคางดำแล้ว มากกว่า 2,500,000 กิโลกรัม

การจัดกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำในครั้งนี้ เป็นการดำเดินการตามมาตรการที่ 7 การฟื้นฟูระบบนิเวศ ตามดำเนินการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อสนับสนุนมาตรการและแก้ไขปัญหาปลาหมอคางดำตามมาตรการที่ 7 การฟื้นฟูระบบนิเวศ
2. เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรและเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำ ให้มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น
3. เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมใน
การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ และร่วมกันแก้ไขปัญหาปลาหมอคางดำในพื้นที่การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำในวันนี้ได้รับการสนับสนุนพันธุ์กุ้งกุลาดำ จำนวน 1,500,000 ตัว และปูม้า จำนวน 15,000 ตัว จากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งสมุทรสาคร กองเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กรมประมง