HD_web_ข่าวเด่นทั่วไทย-03-removebackground

ภูมิใจลูกหลานชาวจันท์ได้รับรางวัลเพาะเห็ดนางฟ้าจากขี้เลื่อยกิ่งผลไม้เมืองจันท์

ความภาคภูมิใจของจังหวัดจันทบุรี นักศึกษาจาก มหาวิทยาลัยราชภัฎพรรณี เข้าประกวดโครงการโครงการ ซีเอสอาร์ โทเวย์ คอนเทนท์ ปั้น ปลูก คิด(ส์) ปี2 บายโทเวย์กรีนเวย์ ภายใต้หัวข้อนวัตกรรมการจัดการขยะอย่างยั่งยืนซึ่งทีมผู้ชนะเลิศได้แก่ทีม pilleus gang จากมหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี ในผลงานเพาะเห็ดนางฟ้าจากขี้เลื่อยกิ่งผลไม้เมืองจันท์ ได้รับใบประกาศนียบัตร พร้อมทุนการศึกษา 30,000 บาทและทุนพัฒนาชุมชนมูลค่าถึง 100,000 บาท

อ.ดร. ฉัตรมงคล สีประสงค์ ผู้ช่วยคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี กล่าวว่า “จังหวัดจันทบุรี เป็นจังหวัดที่มีการทำการเกษตรติดอันดับต้น ๆ ในประเทศไทย สามารถปลูกพืชผลต่าง ๆ ได้หลากหลาย โครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดจันทบุรี ขึ้นอยู่กับภาคการเกษตรเป็นสำคัญ แต่หลังจากฤดูเก็บเกี่ยวผ่านพ้นไป ปัญหาที่พบมากคือปัญหาการจัดการขยะทางการเกษตร ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่มักนำมารวมกัน โดยไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ บางส่วนมีการนำไปกำจัดด้วยการเผา ทำให้เกิดมลพิษในอากาศ และอาจนำไปสู่การเกิดอัคคีภัยได้”
นักศึกษาจากคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ประกอบด้วย นายดนุเดช ใหญ่กระโทก นางสาวนริศรา ช่างเจรจา และนางสาวเพชรลดา ผ่องผุด จึงได้รวมตัวกันในนามของทีม Pilleus gang ส่งโครงงาน “เพาะเห็ดนางฟ้าจากขี้เลื่อยกิ่งผลไม้เมืองจันท์” เข้าประกวดในโครงการ CSR Tollway Contest ปั้น ปลูก คิด(ส์) ปี 2 by Tollway Green Way ปีที่ 2 และได้รับรางวัลชนะเลิศมาในที่สุด

โดย “ทีมเด็กปั้นปุ๋ย” ผู้ชนะเลิศโครงการ “ปั้น ปลูก คิด(ส์) ปี 1 ได้ถูกพัฒนาและต่อยอดนำไปสู่การจัดตั้ง ‘วิสาหกิจชุมชนเด็กปั้นปุ๋ย’ นับเป็นความสำเร็จที่บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) ภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะในปัจจุบันโครงการดังกล่าวได้สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในชุมชนบ้านหนองโก หมู่ที่ 3 ตำบลหนองโก อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม เฉลี่ยเดือนละถึง 40,000 บาทต่อคน โดยมีชาวบ้านเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 120 ครัวเรือน และตลอด 1 ปีที่ผ่านมา จากต้นกล้าต้นเล็กๆ ที่ได้รับการปั้นและปลูกมาเป็นอย่างดี ‘วิสาหกิจชุมชนเด็กปั้นปุ๋ย’ ยังชนะรางวัลที่ 2 ในการประกวดชุมชนเข้มแข็งของอำเภอบรบือ ซึ่งจัดโดยท่านนายอำเภอบรบือ มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 15 ตำบล และน้องสมาชิกได้เป็นเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ให้กับหน่วยงานต่างๆ ใกล้เคียง อาทิ อบต.แกดำ อบต.แวงน่าน และตามโรงเรียนต่างๆ รวมถึงเตรียมความพร้อมในการจัดตั้งเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมต่อไปอีกด้วย

 

สมเศียร โชติสนิท ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดจันทบุรี